กระแสฮิตเจ้าเหมียวสี่ขาเริ่มมาแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก ที่เปิดขึ้นมาเมื่อไรเป็นต้องเจอรูปถ่ายหน้ากลม ๆ ของเจ้าเหมียว พร้อมทั้งอิริยาบถต่าง ๆ อยู่ร่ำไป แถมบางครั้งเจ้าของก็ยังบรรยายความน่ารักให้ได้อ่านกันอีกด้วย แน่นอนว่า เมื่อได้เห็นดวงตากลมโตแสนบ้องแบ๊วคู่นั้น คงอดไม่ได้ที่จะหลงรักและอยากครอบครองเป็นเจ้าของ แต่ถ้าคุณคิดจะซื้อแมวมา เลี้ยงเอาไว้ที่บ้านสักตัวสองตัวแล้วล่ะก็ อย่าเพิ่งรีบร้อนตัดสินใจจนกว่าจะได้ศึกษานิสัยใจคอของแมวสายพันธุ์ต่าง ๆ รวมถึงวิธีการเลี้ยงดู โดยลองเปรียบเทียบจาก 10 สายพันธุ์แมวยอดนิยมในไทย ดังต่อไปนี้
1.แมวเปอร์เซีย (Persian)
แมวเปอร์เซีย ถือเป็นราชินีแมวจากแดนตะวันออกกลางที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก วันนี้กระปุกดอทคอมจึงมีประวัติแมวเปอร์เซีย และวิธีเลี้ยงแมวเปอร์เซียมาฝาก
เพราะ แมวเปอร์เซีย เป็นแมวขนยาว หน้าตาน่าเอ็นดู หัวกลมสวย ตากลมโต มีหลายสีขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ รวมถึงหน้าตาก็มีหลายแบบ มีอุปนิสัยอ่อนโยน เข้ากับคนง่าย ร่าเริงซุกซน ชอบประจบประแจง และมีไหวพริบ ซึ่งแมวพันธุ์นี้นับเป็นแมวต่างประเทศที่ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นพันธุ์แรกด้วย
แมวเปอร์เซีย มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเปอร์เซีย หรือประเทศตุรกี และอิหร่านในปัจจุบัน โดยในปี ค.ศ. 1684 ได้มีการบันทึกลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับที่มาของ แมวเปอร์เซีย หรือแมวเปอร์เซียน (Persian Cats) ว่า พ่อค้าทะเลทราย (หรือที่เรียกว่ากองคาราวาน) ทางแถบๆ ตะวันตกของตุรกีและอิหร่าน มักบรรทุกสินค้ามากมาย อาทิเครื่องเทศ อัญมณี และสินค้ามีค่าอื่น ๆ ซึ่งบางครั้งก็มีแมวขนยาวติดมาด้วย แมวขนยาวนั้นถูกซื้อโดยกะลาสีและได้นำแมวติดไปกับเรือสินค้าเดินทางเข้าทวีปยุโรป ซึ่งหลายปีต่อมาแมวพันธุ์นั้นถูกรู้จักในชื่อ เตอร์กิส แองโกร่า (Turkish Angora)
ต่อมาในปลายศตวรรษที่ 19 ชาวอังกฤษเริ่มผสมพันธุ์แมวเตอร์กิส แองโกร่า กับแมวสายพันธุ์อื่น และพัฒนาจนได้แมวที่มีขนหนาและยาวกว่าเดิม กระทั่งในที่สุดแมวพันธุ์นี้ก็ได้รับการยอมรับและจดทะเบียนขึ้นที่ประเทศอังกฤษในชื่อว่า Longhair ซึ่งชื่อของมันก็ถูกตั้งขึ้นตามประเทศต้นกำเนิดนั่นเอง
นอกจากประเทศอังกฤษแล้ว แมวเปอร์เซียยังถูกนำไปเลี้ยงในประเทศต่างๆ ทั้งยุโรปและอเมริกามานานหลายร้อยปี ซึ่งอเมริกาจะเรียกแมวพันธุ์นี้ว่า Persian
ลักษณะสายพันธุ์
แมวเปอร์เซีย เป็นแมวที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีกระดูกที่ใหญ่และแข็งแรง หัวและหน้ากลม หน้าผากโหนก แก้มเต็ม ดวงตากลมโต และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน มีจมูกที่หัก กล่าวคือ สังเกตได้ชัดเจนเมื่อมองจากด้านข้างจะเห็นจุดหักระหว่างจมูกกับหน้าผากชัดเจน เมื่อมองจากด้านหน้าจะเห็นเป็นขีดอยู่ระหว่างดวงตา
สำหรับ แมวเปอร์เซีย ที่มีลักษณะตรงตามมาตรฐานสายพันธุ์ ควรจะมีจมูกอยู่ในระดับเดียวกับตา โครงสร้างลำตัวสั้น ขาสั้นเตี้ย หูเล็กมีปลายหูที่กลมมน และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน หางสั้นและตรง ไม่มีรอยหัก ขนยาวฟู มีท่วงท่าการเดินดูสง่างาม ทั้งนี้ แมวเปอร์เซียในสมัยแรก ๆ มีรูปร่างหน้าตาที่ต่างจากแมวเปอร์เซียในปัจจุบันมากทีเดียว ปัจจุบันมันถูกพัฒนาให้มีรูปร่างที่สั้นขึ้น ขนยาวขึ้น ถูกเปลี่ยนแปลงโครงร่างให้ใหญ่และกลม จมูกสั้นและหักมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แมวเปอร์เซียถูกแบ่งออกเป็น 7 ชนิด โดยแบ่งตามสี และลักษณะเป็นหลัก ดังนี้
1.Solid colour ขนจะเป็นสีเดียวตลอดตัว ไม่ควรมีสีอื่นแซมเลย สีจะต้องเสมอกันตลอด เช่น white ขนสีขาวบริสุทธิ์, blue ขนสีเทาเข้ม, black สีขนดำสนิท, red ขนสีแดงเข้มและสดใส, cream ขนสีครีมเข้ม, chocolate ขนสีน้ำตาลช็อกโกแลต, lilac ขนสีลาเวนเดอร์
2.Sliver&Golden ตาจะเป็นสีเขียวหรือสีเขียวอมน้ำเงินเท่านั้น
3.Shade&Smoke จะมีสีขน 3 แบบ คือแบบ Shell จะมีสีที่ปลายขนเพียงเล็กน้อย แบบ Shade จะมีส่วนที่เป็นสีมากกว่า และแบบ Smoke จะมีสีมากกว่าแบบ Shade
4.Tabby จะมีลวดลายที่เป็นที่ยอมรับอยู่ 2 แบบ คือ Classic และ Mackerel
5.Parti-colour จะเกิดขึ้นเฉพาะเพศเมียเท่านั้น อันสืบเนื่องมาจากการสืบทอดทางโครโมโซม
6.Calico & Bi-Color สีทั่วไปตาจะเป็นสีทองแดง ถ้าเป็นตาสองสีตาข้างหนึ่งจะเป็นสีฟ้า อีกข้างเป็นสีทองแดง ความเข้มของสีตาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน
7.Himalayan เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างแมวไทยวิเชียรมาสกับแมวเปอร์เซีย จะมีลักษณะแต้มสีตำแหน่งเดียวกับแมววิเชียรมาส คือหูทั้งสองข้าง ที่หน้าครอบเหมือนหน้ากาก ขาทั้งสี่ ตาสีฟ้าสดใส
ราคาแมวเปอร์เซีย
อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า แมวเปอร์เซียเป็นแมวสายพันธุ์ต่างประเทศ ค่าเลี้ยงดูและค่าตัวอาจแพงสักหน่อย ทั้งนี้ ราคาของแมวเปอร์เซีย มีตั้งแต่หลักพันถึงหลักแสน ขึ้นกับเกรดของสายพันธุ์ สามารถแบ่งได้เป็น
เกรดเพ็ด (PET Quality) ส่วนมากเป็นแมวที่เลี้ยงตามบ้านทั่วไป ราคาประมาณ 5,000-15,000 บาท จมูกยาว หน้าไม่บี้ หรือเรียกว่าหน้าตุ๊กตา
เกรดทำพันธุ์และโชว์ (Breed and Show Quality) ส่วนมากเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ เลี้ยงไว้เพื่อประกวด หรือโชว์ มีลักษณะของแมวเปอร์เซียที่ดีครบ โดยหน้าจะบี้ คือ จมูกและตาเกือบเสมอกัน
นอกจากนี้ ระดับของราคายังแบ่งเป็นสายพันธุ์ในประเทศอยู่ที่ 25,000-35,000 บาท สายพันธุ์นำเข้า 35,000-100,000 บาท หรือมากกว่านั้น ขึ้นกับสุขภาพของแมว และลักษณะเด่นตามสายพันธุ์
เมื่อตัดสินใจจะเลี้ยงแมวพันธุ์นี้แล้ว จงพึงระลึกไว้เสมอว่า การดูแลขนของแมวเปอร์เซียเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ผู้เลี้ยงต้องหมั่นทำความสะอาดถึงการแปลงและสางขนแมวอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันการเกิดขนพันกัน เพราะการที่ขนพันกันเป็นกระจุกนั้นจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรครวมทั้งพยาธิต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคผิวหนังอักเสบและเป็นที่อยู่ของเห็บหมัดอีกด้วย
อาหารและการเลี้ยงดู
ในเรื่องของอาหารการกินนั้น ควรเลือกอาหารที่ช่วยให้ทางเดินอาหารของแมวไม่อุดตัน เนื่องจากแมวเปอร์เซียจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเลียทำความสะอาดขน อันเป็นสาเหตุในการกินหรือกลืนเส้นขนเข้าไปเป็นจำนวนมาก หากเส้นขนจะไปรวมตัวกันในช่องท้องจะทำให้แมวเปอร์เซียสำรอกหรือเกิดปัญหาของระบบย่อยอาหารได้
โรคและวิธีการป้องกัน
โรคที่พบบ่อยใน แมวเปอร์เซีย นั้นส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นและถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคหายใจขัด หอบ หรือ ท่อน้ำตาอุดตัน เป็นต้น นอกจากนี้ แมวเปอร์เซียที่มีสีขาวรวมถึงแมวเปอร์เซียที่มีตาสีฟ้าหรือตาข้างละสีมักมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด คือ หูหนวก อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม โรคท่อน้ำตาอุดตัน และปัญหาคราบน้ำตา เป็นปัญหาที่พบบ่อยและถูกถามถึงมากที่สุด อาการที่พบ คือ มีน้ำตา ไหลในตาข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ไม่มีอาการหรี่ตา น้ำตาที่ไหลออกมาเป็นน้ำตาใสๆ ร่วมกับมีคราบติดบริเวณร่องจมูก ซึ่งโรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรม เกิดจากการสะสมของแบคทีเรียในท่อน้ำตา เนื่องจากท่อน้ำตาและโพรงจมูกของแมวเปอร์เซียคดไปคดมา
เมื่อเจ้าเหมียวของคุณประสบปัญหานี้เข้า การแก้ปัญหาเบื้องต้น ผู้เลี้ยงอาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเคอยเช็ดคราบน้ำตาเป็นประจำ เพราะหากปล่อยไว้จนแห้ง อาจเช็ดไม่ออก หมดสวยหมดหล่อไม่รู้ด้วยนะคะ
แต่ถ้าหากมีคราบน้ำตามเยอะและข้นกว่าปกติ อาจต้องใช้ยาป้ายตาร่วมกับการเช็ดคราบน้ำตา หรืออาจพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อล้างท่อน้ำตา และทำการรักษาต่อไป
2. แมวอเมริกัน ชอร์ตแฮร์ (American Shorthair)
หากคุณกำลังมองหาแมวที่จะนำมาเป็นเพื่อนที่ดีของเด็ก ๆ ตัวใหญ่ ใจดี น่ากอดอยู่ล่ะก็ แมวพันธุ์อเมริกันขนสั้น (American Shorthair) เป็นแมวพันธุ์ที่มีความเหมาะสมอย่างมาก แมวพันธุ์นี้เป็นที่รู้กันถึงความอายุยืน สุขภาพแข็งแรง ดูดี มีลักษณะที่สงบ ทั้งยังเป็นแมวที่ได้รับความนิยมมากในวงการโฆษณาและวงการบันเทิง จึงไม่แปลกเลยว่า American Shorthair จะเป็นแมวสายพันธุ์หนึ่งซึ่งที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลกแห่งแมว
ทั้งนี้ แมวพันธุ์อเมริกันขนสั้น (American Shorthair) เป็นแมวสายพันธุ์ของอเมริกา บรรพบุรุษมาจากแถบยุโรปในช่วงเริ่มแรกและมาแพร่พันธุ์ยังอเมริกาเหนือ เมื่อครั้งชาวยุโรปเดินทางไปแสวงหาถิ่นที่อยู่ใหม่ โดยแมวถูกนำลงเรือไปด้วยเพื่อใช้ประโยชน์ในการล่าหนูมิให้ทำลายข้าวของ ต่อมาแมวมีการผสมพันธุ์ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งกลายไปเป็นแมวพื้นเมืองขนสั้นของอเมริกาเหนือ ความสวยและน่ารักของมันได้กลายมาเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เช่นเดียวกับกับความสามารถในการจับหนูของมัน ตามข้อมูลระบุว่า แมว tabby (ลายเสือ) American Shorthair เคยถูกเสนอขายในราคาถึงกว่า $2,500 ในงานประกวดแมวประจำปีในปี 1896
ต่อมา ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 แมวสายพันธุ์ต่างประเทศได้ถูกนำเข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกา (แมวขนยาวกับแมววิเชียรมาศ) เพื่อผสมกับแมวพื้นเมืองขนสั้น และได้ให้กำเนิดลูกแมวที่มีลักษณะขน ลำตัว สี และอุปนิสัยที่แตกต่างกันไป ใครก็ตามที่ต้องการรักษาแมวสายพันธุ์ American Shorthair ต้องมีตัวอย่างสายพันธุ์แมวที่บริสุทธิ์ และเริ่มที่ผสมกับแมวที่ได้รับการเลือก เพื่อจะรักษาลักษณะที่ดีของสายพันธุ์ หน้าที่สวยงาม ลักษณะนิสัยที่อ่อนหวาน และในขณะเดียวกันก็รักษาลักษณะรูปแบบและสีสันของ American Shorthair อย่างที่เป็นทุกวันนี้ และกลายเป็นอีกสายพันธุ์หนึ่งที่คนนิยมเลี้ยง
ในปี 1966 จากเดิมที่เรารู้จักกันในแมวที่เลี้ยงกันตามบ้านทั่วไป (Domestic Shorthair) แมวสายพันธุ์นี้ได้รับการตั้งชื่อเสียใหม่ว่า American Shorthair เพื่อให้เป็นตัวแทนของลักษณะแมวของอเมริกาและเพื่อให้แตกต่างจากแมวขนสั้น สายพันธุ์อื่น ๆ ชื่อ American Shorthair เป็นการเน้นย้ำถึงความเป็นแมวขนสั้นพันธุ์ดั้งเดิมในอเมริกาเหนือ ที่มีความแตกต่างอย่างชัดเจนจากแมวที่หาได้ตามท้องถนนทั่วไป
ลักษณะสายพันธุ์ แมวพันธุ์อเมริกันขนสั้น
แมวอเมริกันชอร์ตแฮร์ มีลักษณะสีขนและรูปร่างมากกว่า 80 แบบ มีตั้งแต่ สีน้ำตาล striking tabby ไปจนถึง แมวสีขาวตาสีฟ้าสดใส หรือ shaded silvers สี smoke และสี camero รวมทั้งสี calico van และสีอื่นในระหว่างนี้ สีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือสี silver tabby โดยจะมีลายสีดำเข้ม พลาดอยู่บนพื้นสีเงิน (ลายเสือ)
สำหรับรูปร่างของแมวอเมริกันชอร์ตแฮร์ มีขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ โครงสร้างลำตัวโต มีกล้ามเนื้อแข็งแรง มองเห็นชัดเจน อกใหญ่ ขาใหญ่ ใบหูมีขอบเป็นทรงกลมมน ส่วนหัวมีลักษณะรูปไข่ ดวงตากลมโต มีสีเขียวมรกต
ลักษณะนิสัยของ แมวพันธุ์อเมริกันขนสั้น (American Short Hair) เป็นแมวที่ช่างสงสัย นิสัยร่าเริง ชอบเล่นไปเรื่อย ๆ มีเสน่ห์ แต่จะฝึกค่อนข้างยาก ไม่เหมือนสุนัขที่ฝึกง่าย ดังนั้น จะต้องคลุกคลีกับแมวให้มาก ๆ ในขณะที่การดูแลก็จะทำเป็นอย่างดี พาไปตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนเป็นประจำ
ส่วนปัญหาของแมวพันธุ์อเมริกันขนสั้นส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อราและเป็นหวัด ถ้าหากเจ้าของให้การดูแลไม่ดีก็จะเลี้ยงลำบาก ส่วนปัญหาเรื่องขนร่วงมีน้อยมาก โดยจะร่วงเฉพาะในช่วงเวลาผลัดขนปีละ 2 ครั้งเท่านั้น
3. แมวสก็อตติช โฟลด์ (Scottish Fold)
แมวพันธุ์ Scottish Fold ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1961 ในสก๊อตแลนด์ มันมีชื่อว่า Susie มีลักษณะเป็นแมวสีขาวที่มีหูพับไปมาทั้งด้านหน้าและด้านหลังได้ ใบหน้ามีลักษณะคล้าย นกฮูก หรือหน้าของตัวนาก ผู้ที่สังเกตเห็นคนแรกคือ William Ross มีอาชีพเป็นคนเลี้ยงแกะ William และภรรยาเป็นคนที่รักแมวมาก และทั้งคู่สนใจ Susie มาก เมื่อ Susie ออกลูกเป็นลูกแมวหูพับ 2 ตัว ครอบครัวของเขาจึงขอลูกแมวตัวเมียตัวหนึ่งมาเลี้ยง และได้ตั้งชื่อว่า Snooks ลูกของ Snooks เป็นสายพันธุ์ที่มาจาก British Shorthair และนี่ก็เป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์ Scottish Fold ในเวลานี้ สายพันธุ์นี้ได้รับการจดทะเบียนจาก The Governing Council of the Cat Fancy ของประเทศอังกฤษ
ทั้งนี้ ในช่วงปี ค.ศ. 1960 Pat Turner นักพันธุศาสตร์ และ cat breeder เป็นผู้หนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์นี้ ในช่วง 3 ปี มีลูกแมวเกิด 76 ตัว 42 ตัวเป็น พวกหูพับ อีก 34 ตัว เป็นพวกหูตั้ง เธอได้ร่วมกับ Peter Dyte นักพันธุศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ลงความเห็นว่า ลักษณะหูพับกลายเป็นลักษณะเด่น นั่นหมายถึงถ้าลูกแมวได้รับการถ่ายทอดยีนจากพวกที่มีหูตั้ง และพวกที่มีหูพับ ลูกแมวตัวนั้นจะมีลักษณะหูพับ
สำหรับ Susie ต้นกำเนิดของ แมวพันธุ์ Scottish Fold หูมีลักษณะการพับแบบหลวม ๆ ปลายหูพับลงมาด้านหน้าประมาณครึ่งหนึ่ง รูปแบบนี้ เรียกว่า single fold และในปัจจุบันยังมีหูพับแบบ triple fold ด้วย คนเลี้ยงแมวบางส่วนในประเทศอังกฤษมีความเชื่อว่า แมวพันธุ์ Scottish Fold อาจมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อโรคทางหู และ มีโอกาสในการเป็นหูหนวกสูง พวกเขาจึงร่วมมือกันต่อต้านการจดทะเบียนของ Scottish Fold ใน Great Britain และ Europe
อย่างไรก็ตาม Mrs. Ross ได้นำแมวหูพับบางส่วนของเธอจัดส่งไปให้ ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ Neil Todd นักพันธุศาสตร์ ใน Newtonville คอกแรกที่เกิดในอเมริกา เกิดวันที่ 30 พฤศจิกายน 1971 หลังการค้นคว้าเสร็จสิ้นลง ลูกแมวหูพับบางส่วนได้รับการยอมรับจาก CFA
โดย แมวพันธุ์ Shorthair Scottish Folds ได้รับการจดทะเบียนจาก ACA ในปี 1973 และ จาก ACFA, CFA ในปี 1974 สถาบัน TICA เป็นที่แรกที่จดบันทึกว่า Longhairs ชนะเลิศการประกวด ในปี 1987-88 และชนะของ CFA ในปี 1993-94
และแม้ว่าครอบครัว Ross จะล้มเลิกความพยายามในการทำให้ประเทศของเขายอมรับแมวสายพันธุ์นี้ แต่พวกเขาได้รับการยกย่องในประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าเป็นผู้ค้นพบ แมวพันธุ์ Scottish Fold
ทั้งนี้ ในช่วงปี ค.ศ. 1960 Pat Turner นักพันธุศาสตร์ และ cat breeder เป็นผู้หนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์นี้ ในช่วง 3 ปี มีลูกแมวเกิด 76 ตัว 42 ตัวเป็น พวกหูพับ อีก 34 ตัว เป็นพวกหูตั้ง เธอได้ร่วมกับ Peter Dyte นักพันธุศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ลงความเห็นว่า ลักษณะหูพับกลายเป็นลักษณะเด่น นั่นหมายถึงถ้าลูกแมวได้รับการถ่ายทอดยีนจากพวกที่มีหูตั้ง และพวกที่มีหูพับ ลูกแมวตัวนั้นจะมีลักษณะหูพับ
สำหรับ Susie ต้นกำเนิดของ แมวพันธุ์ Scottish Fold หูมีลักษณะการพับแบบหลวม ๆ ปลายหูพับลงมาด้านหน้าประมาณครึ่งหนึ่ง รูปแบบนี้ เรียกว่า single fold และในปัจจุบันยังมีหูพับแบบ triple fold ด้วย คนเลี้ยงแมวบางส่วนในประเทศอังกฤษมีความเชื่อว่า แมวพันธุ์ Scottish Fold อาจมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อโรคทางหู และ มีโอกาสในการเป็นหูหนวกสูง พวกเขาจึงร่วมมือกันต่อต้านการจดทะเบียนของ Scottish Fold ใน Great Britain และ Europe
อย่างไรก็ตาม Mrs. Ross ได้นำแมวหูพับบางส่วนของเธอจัดส่งไปให้ ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ Neil Todd นักพันธุศาสตร์ ใน Newtonville คอกแรกที่เกิดในอเมริกา เกิดวันที่ 30 พฤศจิกายน 1971 หลังการค้นคว้าเสร็จสิ้นลง ลูกแมวหูพับบางส่วนได้รับการยอมรับจาก CFA
โดย แมวพันธุ์ Shorthair Scottish Folds ได้รับการจดทะเบียนจาก ACA ในปี 1973 และ จาก ACFA, CFA ในปี 1974 สถาบัน TICA เป็นที่แรกที่จดบันทึกว่า Longhairs ชนะเลิศการประกวด ในปี 1987-88 และชนะของ CFA ในปี 1993-94
และแม้ว่าครอบครัว Ross จะล้มเลิกความพยายามในการทำให้ประเทศของเขายอมรับแมวสายพันธุ์นี้ แต่พวกเขาได้รับการยกย่องในประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าเป็นผู้ค้นพบ แมวพันธุ์ Scottish Fold
ลักษณะโดยทั่วไปของ แมวพันธุ์ Scottish Fold
แมวพันธุ์ Scottish Fold เป็นแมวขนาดกลาง ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้พัฒนาจนมีลักษณะเฉพาะตัวของสายพันธุ์
ตัวผู้ มีน้ำหนัก ประมาณ 9-13 ปอนด์
ตัวเมีย มีน้ำหนัก ประมาณ 6-9 ปอนด์
ทั้งนี้ แมวพันธุ์ Scottish Fold จะมีลักษณะตัวกลม หัวกลม มีช่วงคอสั้น ดวงตากลมใหญ่ มีช่องกว้าง และแสดงออกถึงความสดใส ความหวาน พวก Fold นี้ สามารถมีหูที่มีลักษณะตั้งตรงขนาดกลางได้ไปจนถึง หูพับขนาดเล็ก ที่มีมุมพับกว้าง ปลายหูส่วนใหญ่จะกลม หูของลูกแมวจะเริ่มพับในช่วง2-3 อาทิตย์แรก มีคางที่กลมมน จมูกสั้นโค้ง กว้าง เพื่อรับกับดวงตา บางครั้งปากจะโค้งรับกับคางที่โค้งทำให้ ได้ฉายาว่า smiling cat หรือ แมวยิ้ม ดังที่แสดงในภาพ Scottish Fold จะมีลักษณะกลมทั้งตัว
แมวพันธุ์ Scottish Fold มี 2 แบบ คือ แบบ Shorthair และ Longhair พวก Longhaired Scottish Fold มีขนยาวขนาดกลาง ในตัวผู้มีขนหางเป็นพวงใหญ่ที่สวยงาม สีของสายพันธุ์นี้ สามารถพบได้หลายสี โดยเฉพาะสีน้ำตาล และสีขาว เป็นสีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
ลักษณะนิสัย แมวพันธุ์ Scottish Fold
แมวพันธุ์ Scottish Fold เป็นแมวที่ไม่ค่อยส่งเสียง มักจะชอบที่จะคอยดูแลควบคุมในสิ่งที่เจ้าของกำลังทำอยู่ เป็นแมวที่ชอบทำกิจกรรมในระดับปานกลาง พวกมันชอบที่จะเล่นโดยเฉพาะถ้ามีเจ้าของของมันร่วมเล่นด้วย Folds บางตัวอาจที่จะไม่ชอบนอนบนตัก แต่พวกมันชอบที่จะอยู่ใกล้ ๆ กับเจ้าของ
นอกจากนี้ แมวพันธุ์ Scottish Fold ยังชอบที่จะนอนแผ่แบนบนหลังของมัน และมักพบมันในท่า sitting up ซึ่งดูเหมือนตัวนาก
4.แมววิเชียรมาศ (Siamese)
ปากบนหางสี่เท้า โสตสอง
แปดแห่งดำดุจปอง กล่าวไว้
ศรีเนตรดั่งเรือนรอง นาคสวาดิ ไว้เอย
นามวิเชียรมาศไซร้ สอดพื้นขนขาว
ปัจจุบันคนไทย มักเข้าใจผิดเรียกว่า แมววิเชียรมาศ คือแมวชนิดเดียวกันกับ "แมวเก้าแต้ม" เนื่องจากมีลักษณะและลวดลายคล้ายกันมาก แต่ที่จริงแล้ว "แมวเก้าแต้ม" เป็นชื่อของแมวไทยอีกชนิดหนึ่งที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
แมววิเชียรมาศ เป็นแมวที่มีแต้มสีน้ำตาลเข้มอยู่ 9 จุดบนตัว ได้แก่ ที่ปลายเท้าทั้งสี่ ปลายหูทั้งสอง ปลายหาง บนจมูก และที่อวัยวะเพศ เมื่อตอนยังเล็กจุดจะไม่ใหญ่มาก ลำตัวเป็นสีครีม แต่จุดจะขยายใหญ่ขึ้นตามอายุจนมีสีน้ำตาลเกือบทั้งหมด พันธุ์แท้จะต้องมีนัยน์ตาสีฟ้าเป็นประกายสดใส
ขณะยังเป็นลูกแมวอายุน้อย สีขนจะออกสีครีมอ่อนๆ พอโตขึ้น สีจะเข้มขึ้นเป็นสีน้ำตาล (สีลูกกวาง) เป็นแมวพันธุ์แท้ตลอดกาล ไม่ว่าจะไปผสมกับแมวพันธุ์อะไรก็ตาม จะได้สีแต้มตามแบบ แต่รูปร่างไม่สง่างามเท่า และนิสัยต่างๆ จะไม่ตกทอดไปสู่ แมวลูกผสมด้วย เมื่ออายุมากขึ้นสีสันต่างๆ จะเข้มขึ้นตามลำดับ ในต่างประเทศ ได้นำ แมววิเชียรมาศนี้ ไปผสมกับแมวไทยบางพันธุ์ ได้แมวที่มีแต้มสีอื่นๆอีกหลายสี เช่น แต้มสีเทา สีแดง ลายสีกลีบบัว
- ตา : นัยน์ตาเป็นสีฟ้าเปล่งประกายสดใส ในตอนที่ยังเล็กๆ จะมีขนสีครีมอ่อนๆ แต่ พอโตขึ้นขนจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีลูกกวาง ขนาดก็พอๆกับแมวไทยโดยทั่วๆไป ดวง ตาสีฟ้าชัดเจนนั้นจะมีลักษณะเหมือนตุ๊กตาจีน คือเอียงเข้าหากันลงไปทางปลายจมูก
- ขา : ช่วงขายางร่างระหง เท้าทั้ง 4 จะดูบอบบาง ด้านหลังจะยาวและยกสูงกว่าด้าน หน้าเล็กน้อย รูปเท้าจะเรียวแต่ฝ่าเท้าอวบ
- หาง : หางยาวเรียวลักษณะคล้ายหางเสือ แต้มตรงหางจะมีสีเข้มจากปลายหาง และ เริ่มจางลงเมื่อขึ้นมาถึงโคนสะโพd
หัว : รูปศีรษะยาวได้สัดส่วนที่เหมาะสม ส่วนที่อยู่ตรงแนวระดับตาจะเป็นส่วนที่กว้าง ที่สุดจึงมองดูแล้วโหนก และจะค่อยๆแคบลงมาจนถึงปลายปากหรือคาง
- หู : ใบหูใหญ่ตั้งชัน ปลายใบหูจะค่อนข้างแหลม โคนหูกว้าง
ขน : ลำตัวมีสีนวลหรือสีครีม แต่จะเข้มขึ้นบริเวณแผ่นหลัง ลักษณะของสีนั้นจะเข้ม ขึ้นตามอายุ เมื่ออายุยังน้อยๆสีก็จะเป็นสีครีมอ่อนๆ พออายุเริ่มมากขึ้นก็เข้มขึ้นเรื่อยๆจน ดูเป็นสีน้ำตาลทางใบหน้าจะเด่นมาก เพราะแต้มที่จุดอยู่ตรงปลายจมูกนั้นจะกว้างออกครอบ ทั่วบริเวณเหมือนกับสวมหน้ากากไว้ เส้นขนที่ปกคลุมมีลักษณะสั้น แต่เป็นเส้นละเอียดอ่อนนุ่ม และดกหนาแน่นมาก
ลักษณะที่เป็นข้อด้อยของพันธุ์
ขนยาวเกินไป มีแต้มสีไม่ครบทั้ง 9 แห่ง แต้มสีอื่นที่ไม่ใช่สีน้ำตาลไหม้ นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่นๆ ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นเกินไป (เมื่อยืนขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว) ของขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี
อาหารและการเลี้ยงดู
ตอนกลางวันควรให้แมวอยู่อย่างอิสระในบ้านหรือนอกบ้านก็ได้ ตอนกลางคืนควรขังรวมกันไว้ในกรง กรงแมวต้องมีขนาดใหญ่ การเลี้ยงแมวในบ้าน แมวจะชอบขับถ่ายในที่ๆมีกลิ่นเหม็นหรือเป็นจุดอับ หากต้องการให้แมวขับถ่ายเป็นที่เป็นทาง ควรเตรียมกระบะทรายหรือขี้เถ้าไว้ในบ้านด้วย สำหรับแมวตัวผู้ที่โตแล้ว จะขับถ่ายไม่เลือกที่
ส่วนอาหาร แมววิเชียรมาศ เป็นสัตว์กินเนื้อ เป็นนักล่า ดังนั้น อาหารที่ให้ต้องมีคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน ควรให้วันละ 2 มื้อ คือ เช้า และเย็น ส่วนใหญ่จะให้ข้าวคลุกปลาทู ซึ่งมีโปรตีน 20 % ปัจจุบันนิยมให้อาหารสำเร็จรูปมากกว่า สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือน้ำสะอาดที่ต้องใส่ภาชนะตั้งไว้
5.แมวโคราช (Korat)
แมวสีสวาด (Silver blue) หรือแมวโคราช (Korat cat)
ประวัติ
แมวพันธุ์นี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ คือ แมวโคราช แมวมาเลศ หรือแมวดอกเลา แมวโคราชเป็นแมวที่พบที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา หรือเรารู้จักกันในนามว่าโคราช มีหลักฐานบันทึกเกี่ยวกับแมวโคราชในสมุดข่อย (Smud Khoi of Cats) ที่เขียนขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1350-1767 หรือประมาณ พ.ศ. 1893-2310 ในบันทึกได้กล่าวถึงแมวที่ให้โชคลาภที่ดี 17 ตัวของประเทศไทย รวมถึงแมวโคราชด้วย
ปัจจุบันสมุดข่อยนี้ถูกเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ชื่อแมวโคราช เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 5 โดยใช้แหล่งกำเนิดของแมวเป็นชื่อเรียกพันธุ์แมว มีเรื่องเล่ามากมายหรือเป็นตำนานเล่าขานเกี่ยวกับแมวโคราช รวมถึงตำนานพื้นบ้านที่กล่าวถึงการที่แมวโคราชมีหางหงิกงอ (kinks) มากเท่าไหร่จะมีโชคลาภมากเท่านั้น (แม้ว่าลักษณะหางหงิกงอไม่ใช่มาตรฐานพันธุ์ตากหลักของ CFA ก็ตาม) แต่คนไทยจะเรียกแมวโคราชอีกชื่อว่า แมวสีสวาด (Si-Sawat cat (see-sa-what)
ขณะที่คนไทยบางกลุ่มจะเรียกแมวโคราชว่า แมวสีดอกเลา เนื่องจากแมวเพศผู้มีสีเหมือนดอกเลา (Dok Lao) โดยจะต้องมีขนเรียบ ที่โคนขนจะมีสีขุ่นๆ เทา ในขณะที่ส่วนปลายมีสีเงิน เป็นประกายคล้ายหยดน้ำค้างบนใบบัว (dewdrops on the lotus leaf) หรือเหมือนคนผมหงอก
ทั้งนี้ แมวโคราชได้ถูกนำไปเลี้ยงในสหรัฐอเมริการโดย Cedar Glen Cattery ในรัฐโอเรกอน โดยได้รับมาจากพี่น้องชื่อ นารา (Nara) และ ดารา (Darra) ในวันที่ 12 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1959 (พ.ศ.2502) ประมาณเดือนมีนาคม ปี พ.ศ.2509 นักผสมพันธุ์แมวโคราชและแมวไทย (วิเชียรมาศ) ชาวรัฐแมรีแลนด์ ได้นำแมวโคราชประกวดในงานประจำปีและ ได้รับรางวัลชนะเลิศและเป็นที่รู้จัก
ลักษณะสีขน
ขนสั้น สีสวาด (silver blue) ทั่วทั้งตัวและเป็นสีสวาดตั้งแต่เกิดจนตาย
ลักษณะของส่วนหัว
หัวเมื่อดูจากด้านหน้าจะเป็นรูปหัวใจ หน้าผากใหญ่และแบน หูตั้ง ในแมวตัวผู้หน้าผากมีรอยหยักทำให้เป็นรูปหัวใจเด่นชัดมากขึ้น หูใหญ่ตั้ง ปลายหูมน โคนหูใหญ่ ผิวหนังที่บริเวณจมูกและริมฝีปากสีเงิน หรือม่วงอ่อน
ลักษณะของนัยน์ตา
นัยน์ตาสีเขียวสดใสเป็นประกาย หรือสีเหลืองอำพัน ขณะยังเป็นลูกแมวตาจะเป็นสีฟ้า เมื่อโตขึ้นจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด และเมื่อเติบโตเต็มที่ตาจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวใบไม้ หรือสีเหลืองอำพัน
ลักษณะของหาง
หางยาว ปลายแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว
ลักษณะที่เป็นข้อด้อยของพันธุ์
ขนยาวเกินไป มีสีอืนปน นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป (เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี
6. แมวขาวมณี (Khao Manee)
ลักษณะประจำพันธุ์ของแมวขาวมณี
ลักษณะสีขน
ขนสั้นแน่นและอ่อนนุ่ม สีขาวไม่มีสีอื่นปน สีผิวหนังเป็นสีขาวปลอดทั้งตัว
ลักษณะของส่วนหัว
รูปร่างไม่กลม หรือแหลมเกินไป แต่คล้ายรูปหัวใจ ผน้าผากใหญ่และแบน จมูกสั้น หูตั้งใหญ่
ลักษณะของนัยน์ตา
นัยน์ตาสีฟ้า หรือสีเหลืองอำพัน
ลักษณะของหาง
หางยาว ปลายหางแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขาวยาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว
ลักษณะที่เป็นข้อด้อยของพันธุ์
ขนมีสีอืนปน นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป (เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี
7. แมวบริติช ชอร์ตแฮร์ (British Shorthair)
แมวบริติช ชอร์ตแฮร์ แต่เดิมเป็นแมวที่มีพื้นเพมาจากประเทศอังกฤษ ซึ่งได้รับความนิยมและเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั้งในอังกฤษรวมถึงประเทศในแถบยุโรปเกือบทั้งหมด เป็นแมวสายพันธุ์แท้อีกสายพันธุ์หนึ่งที่อยู่คู่กับบ้านเรือนและมนุษย์เรามาหลายร้อยปี แมวบริติช ชอร์ตแฮร์ เป็นแมวที่ได้รับการยอมรับจากหลายสมาพันธ์แมวทั่วโลก โดยอิงมาตรฐานที่สำคัญมาจาก GCCF (Governing Council of the Cat Fancy) ในประเทศอังกฤษ
ลักษณะของแมวบริติช ชอร์ตแฮร์
แมวบริติช ชอร์ตแฮร์ เป็นแมวที่มีลักษณะกะทัดรัด สมดุลดี แข็งแรง หน้าอกเต็มและกว้าง ขาสั้น อุ้งเท้ากลม หางหนาและกลมหัวกลมรับกับหูขนาดเล็ก คอสั้น แก้มกลมยุ้ย คางหนา ดวงตากลมเบิกกว้าง จมูกค่อนข้างสั้นตั้งตรง คางต้องแข็งแรง ขนหนาและสั้น
พฤติกรรมของแมวบริติช ชอร์ตแฮร์
แมวบริติช ชอร์ตแฮร์นั้นเป็นแมวที่มีความคุ้นเคยกับสังคมมานานเป็นแมวที่ค่อนข้างนิ่ง สุขุม มีสภาวะทางอารมณ์ที่แน่นอน ไม่ก้าวร้าวไม่ชอบส่งเสียงรบกวนหรือทำลายข้าวของ เป็นมิตรกับมนุษย์ทุกช่วงวัย สามารถปรับตัวให้เข้ากับสัตว์ชนิดอื่น ๆ ได้ง่าย และที่สำคัญคือเป็นแมวที่ผู้เลี้ยงนั้นไม่ต้องเอาใจใส่ดูแลมากเท่าใดนัก มีอายุยืนมากกว่าแมวสายพันธุ์อื่น ๆ เล็กน้อย อายุขัยของเขาจะอยู่ในช่วง 15-20 ปี
สิ่งสำคัญก่อนการตัดสินใจเลี้ยงบริติช ชอร์ตแฮร์
เพื่อชีวิตที่ยืนยาวและสวัสดิภาพของแมวบริติช ชอร์ตแฮร์ ควรจะเลี้ยงในบ้านตลอดเวลาเท่านั้น ส่วนเรื่องเครื่องปรับอากาศนั้น ไม่จำเป็นต้องเปิดตลอดเวลา (แต่ถ้าอยู่ห้องแอร์จะทำให้ขนหนานุ่มเป็นพิเศษ) แมวบริติช ชอร์ตแฮร์ เป็นแมวที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการค่อนข้างช้ากว่าแมวสายพันธุ์อื่น โดยเขาจะเริ่มเติบโตเต็มฟอร์มเมื่ออายุ 18 เดือนขึ้นไป แมวบริติช ชอร์ตแฮร์ นั้นจะโตเต็มที่เมื่ออายุ 3 ปี แต่จะคงความสมบูรณ์และความสวยงามไปได้เกือบตลอดอายุ เป็นแมวที่ดูแลง่าย
เนื่องจาก บริติช ชอร์ตแฮร์ นั้นเป็นแมวที่ค่อนข้างใหม่สำหรับเมืองไทยและยังไม่รู้จักเป็นวงกว้างในหมู่ผู้นิยมเลี้ยงแมว ในการเลือกและตัดสินใจซื้อนั้น ควรอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาถึงที่มาของพ่อ-แม่พันธุ์ การสืบสายเลือด มีความจำเป็นอย่างที่สุดที่ผู้ซื้อนั้น ต้องไปเห็นพ่อ-แม่พันธุ์ด้วยตนเอง เพื่อความมั่นใจ เพราะลักษณะของแมวบริติช ชอร์ตแฮร์นั้นคล้ายกับแมวสก็อตติช โฟลด์ ชนิดหูตั้งเมื่อตอนที่มีอายุน้อย เมื่อโตเต็มที่จึงจะเห็นถึงลักษณะที่แตกต่าง
เกี่ยวกับเรา British Cat Club Thailand
ในนามของ British Cat Club Thailand เราเองก็เป็นอีกคนหนึ่งที่รักและชอบแมวสายพันธุ์บริติช ชอร์ตแฮร์ อย่างสุดหัวใจ ก่อนที่เราจะเริ่มนำเข้าแมวด้วยตนเองนั้น เราก็พยายามหาฟาร์มแมวบริติช ชอร์ตแฮร์ในเมืองไทยอยู่ระยะหนึ่ง แต่เมืองไทยในตอนนี้ยังไม่มีฟาร์มที่มีแนวบริติช ชอร์ตแฮร์ที่มีลักษณะถูกต้องตามสายพันธุ์ และเพ็ดดิกรีที่น่าเชื่อถือได้ เราจึงได้นำเข้าแมวบริติช ชอร์ตแฮร์ ที่มีลักษณะที่ดี ถูกต้องตามมาตรฐานสายพันธุ์ของ CFA, TICA, FIFE, WCF และเป็นสายเลือดแชมป์จากทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ รัสเซีย เช็ก เนเธอร์แลนด์ ฮังการี เอสโตเนีย เข้ามาเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองและเพื่อแบ่งบันให้กับเพื่อนที่ต้องการแมวบริติช ชอร์ตแฮร์ ที่เป็น บริติช ชอร์ตแฮร์ อย่างแท้จริง
8. แมวเอ็กโซติก (Exotic)
แมวอะไรหน้าบูด จมูกหัก แต่น่าร้ากกสุด ๆ หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า แมวพันธุ์ Exotic ที่ห็นอยู่นี้เป็นเหมียวพันธุ์ เปอร์เซีย แม้จะไม่ถูกแต่ก็ไม่ผิดซะทั้งหมด เพราะเจ้าแมวพันธุ์นี้ เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่าง แมวเปอร์เซีย กับ แมวพันธุ์อเมริกันขนสั้น (American Shorthair) ทำให้ได้เจ้าเหมียวพันธุ์ Exotic หลายสายพันธุ์ เช่น Exotic Blue Tabby, Exotic Red Tabby, Exotic Cream Tabby และมีหลายสีสัน น่ารักน่าเลิฟเช่นนี้แล
สำหรับลักษณะทั่วไปของ แมวพันธุ์ Exotic ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีลักษณะทุกอย่างเหมือนกับ แมวเปอร์เซีย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะหัวกลม กะโหลกใหญ่ ใบหูเล็กกลม จมูกหักเล็กน้อย ยกเว้นอยู่หนึ่งอย่างที่เป็นลักษณะเด่นของ Exotic ก็คือ ขนที่หนา แน่น นุ่มสั้นคล้ายกับกำมะหยี่ ที่สำคัญขนอันสวยงามของแมวพันธุ์ Exotic ยังต้องการการบำรุงรักษาน้อยกว่าแมวเปอร์เซียโดยทั่ว ๆ ไป เพราะไม่จับตัวเป็นก้อนหรือพันกันยุ่งเหยิง
ส่วนเรื่องอุปนิสัยของ แมวพันธุ์ Exotic แทบไม่มีความแตกต่างจาก แมวเปอร์เซีย เลย แมว Exotic เป็นแมวที่ซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ ไม่ค่อยหงุดหงิด และอดทน อย่างไรก็ดี คุณอาจแทบไม่ได้ยินเสียงร้องของแมวพันธุ์นี้ เพราะมันค่อนข้างจะสงบ เงียบ และหากมันต้องการความสนใจ มันก็เพียงแค่นั่งอยู่หน้าคุณ กระโดดมานั่งบนตัก หรือไม่ก็เอาจมูกชื้น ๆ ของมันมาแตะที่หน้าคุณ นอกจากนี้ ยังพบว่า แมวพันธุ์ Exotic บางตัวอาจจะชอบนั่งอยู่บนไหล่ และกอดคุณเวลาคุณเล่นด้วย
ใครที่อยากเลี้ยงแมวสายพันธุ์ต่างประเทศ หรือแมวเปอร์เซีย แต่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลขน แมวพันธุ์ Exotic ก็อาจเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะมันเป็นแมวไม่ค่อยจะยุ่งยากที่จะเลี้ยงไว้ในบ้าน และไม่ค่อยจะเรียกร้องความสนใจเท่าใดนัก ก็เหมือนสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ โดยทั่วไป ที่ชอบเล่น สนุกที่จะกระโดดเพื่องับของเล่นหรือแท่งไม้ รวมทั้งมีกิจวัตรประจำวันสุดชิลอันได้แก่ บิดขี้เกียจ และนอน นอน นอน
9.แมวเมนคูน
อีเหมียว..เมนคูน แมวยักษ์ใหญ่...ใจดี (ไทยรัฐ)
คอลัมน์ หลายชีวิต โดย เพ็ญพิชญา เตียว
แมวยักษ์...ที่ฮือฮากันทั่วโลกในความใหญ่โต ตอนนี้บ้านเรามีคนนำเข้ามาเลี้ยงกันแล้ว แต่ไม่ค่อยมีให้ พบเห็นในบ้านเรามากนัก "หลายชีวิต" จึงมุ่งหน้าบุกไปยังฟาร์ม "KITY FARM" ซึ่งเป็นของคุณปาลิตา หวังใจสุข ย่านถนนนวมินทร์ บึงกุ่ม
คุณปาลิตา บอกว่า จากการที่อ่านเขียนค้นคว้าเรื่องแมวมานาน ทำให้รู้ใจตัวเองว่าเราชอบพันธุ์ไหน และเป็นแมวในฝันที่ค่อนข้างสามารถถ่ายทอด สื่อสารกับเราได้
...นั่นก็คือสายพันธุ์ "เมนคูน" ซึ่งถิ่นฐานกำเนิดในอเมริกา ต้นสายเผ่าพันธุ์ ณ วันนี้ยังมีการถกเถียงกันระหว่างแมวบ้านผสมแรคคูน แต่ก็ยังมีข้อถกเถียงกันว่ายีนส์ สปีชีของแรคคูน ต่างกัน แต่เมนคูนกลับมีบุคลิกเหมือนแรคคูนตรงที่ รู้จักใช้ขาหน้าหยิบจับอาหารซึ่งเป็นนิสัยของแรคคูน ที่เวลากินน้ำจะใช้ขาหน้าปัดหน้าน้ำ กับปล้องหางที่เหมือนแรคคูน
ด้วยเหตุนี้จึงยังต้องมีการค้นหาว่า... เมนคูนเกิดจากการผสมสายพันธุ์แมวป่ากับสายพันธุ์อะไร ซึ่งทุกวันนี้ยังไม่มีการฟันธงกัน และด้วยเพราะรูปร่างโครงสร้างของมัน พวกไวกิ้งจึงเลี้ยง เหมียวยักษ์ เพื่อจับหนูบนเรือ
แมวพันธุ์ เมนคูน มีรูปร่างโครงสร้างใหญ่ นิสัยมีความเป็นเด็กตลอดชีวิต ใบหน้ายังคงมีความเป็นแมวป่า มีแผงคอจะเหมือนสิงโต ฐานหูกว้างใหญ่ ปลายหูจะมีเส้นขนเป็นจะงอยออกมา มองจากด้านข้างลำตัวจะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม ขนกึ่งยาวไม่ฟู ตั้งตกตามลำตัว เส้นขนใหญ่มีน้ำหนัก หางยาว มีวง (Ring) เป็นปล้องเหมือนแรคคูน ถ้าเป็นสีลายเสือ (Tabby) จะต้องมีวงหางตลอด สีโดยทั่วไปจะมีทุกเฉดสี อาทิ สีพื้น แต่สีที่เป็นที่นิยมก็คือ ลายเสือสีน้ำตาล และลายแรคคูน ความยาวจากจมูกถึงปลายหางประมาณ 1 เมตร 30 ซม.
เมนคูน ยังถูกจัดอันดับว่า "เป็นแมวที่ใหญ่ที่สุดในโลก" โดยน้ำหนักที่โตเต็มวัยอยู่ที่ 12-15 กก. อายุเฉลี่ยเหมือนแมวทั่วไปคือราวๆ 15 ปี...
...ถ้าคุณอยากเลี้ยงสุนัข ในเวอร์ชั่นของ แมว เมนคูน คือคำตอบ เพราะหน้าแมวแต่ร่างกายสุนัข ขี้เล่น เดินตามเจ้าของ กระทั่งได้สมญานามว่า GENTEL GIANT เจ้ายักษ์ใหญ่ใจดี
10. แมวเบงกอล (Bengal)
ใครที่แอบชอบในความน่ารัก(ไม่นับนิสัยดุร้าย) ของเสือ จนอยากเข้าไปกอด หรือมีไว้ในครอบครองดูบ้าง แต่ก็ได้แต่ฝันเพราะหากเป็นเรื่องจริงคงถูกเจ้าเสือขย้ำเอาเสียก่อน ถ้างั้น... ลองมาดู "แมวเบงกอล" แมวป่าที่ผสมกับแมวบ้าน จนเกิดลวดลายสวยงาม รูปร่างหน้าตาไม่ต่างจากแมวบ้าน ดูไปดูมาเหมือนลูกเสือดาวน้อย และยังเป็นที่นิยมในหมู่ไฮโซด้วย เพราะสนนราคาต่อตัวค่อนข้างสูง
ที่สำคัญนิสัยของเจ้าแมวเบงกอลก็ไม่ได้ดุดันอย่างที่กำลังคิดกันด้วยนะ แถมยังเชื่องแสนเชื่อง เป็นมิตร ชอบอยู่กับคน น่ารัก และคล่องแคล่วปราดเปรียว มีนิสัยชอบวิ่งไล่สิ่งของ หรือวัตถุ ชอบปีนป่าย ชอบไล่จับหนู หากไม่มีอะไรให้เล่นก็จะของเล่นด้วยตัวเอง มีเสียงร้องที่ฟังแล้วเหมือนแมวป่าค่อนข้างมาก ส่วนสัญชาตญาณความเป็นสัตว์ป่าที่คงหลงเหลือให้เห็นอยู่ กลับกลายเป็นลักษณะเด่นของแมวเบงกอล นั่นคือ ความมั่นใจในตนเอง ความกล้าหาญ ไม่ขลาดกลัว และความเฉลียวฉลาดในการเอาตัวรอด และที่แตกต่างจากแมวเกือบทุกชนิดอย่างมาก คือ แมวเบงกอลมีนิสัยชอบเล่นน้ำอย่างมาก!?!?!
ทั้งนี้ แมวเบงกอล (Bengal) เป็นแมวที่ผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างแมวดาว (Asian Leopard Cat) กับแมวบ้าน (Domestic Shorthair) ในที่นี้คือ Egyptian Mau คือ พันธุ์แมวอียิปต์โบราณ และมีโครงสร้างเป็นหลายจุด มีลักษณะที่เหมือนแมวป่า (wild cat) ซึ่งการผสมข้ามสายพันธุ์ของแมวดาว กับ E.Mau and Ocicat
การกำเนิดขึ้นของแมวเบงกอล เริ่มโดยคุณ Jean Mills หญิงชาวมลรัฐอริโซนา ประเทศอเมริกาที่หลงใหลในลวดลายของแมวป่า เธอใช้เวลาถึง 20 ปี (เริ่มมาตั้งแต่ปี 1980 หรือ 2523) ในการพัฒนาให้มีจุด (Spotted ที่ใหญ่และแมวตัวผู้ไม่เป็นหมัน (แมวตัวผู้จะเป็นหมันใน F1 and F2) จนสามารถสร้างจุดให้ใหญ่และมีสีที่ตัดกันในจุดมากขึ้นด้วย และเธอตั้งชื่อสายพันธุ์นี้ว่า เบงกอล ตามชื่อวิทยาศาสตร์ของแมวป่าที่เรียกกันว่า Felis bengolensis นั่นเอง
ลักษณะประจำพันธุ์
แมวเบงกอล เป็นแมวขนาดปานกลางถึงค่อนข้าง หัวมีความยาวมากกว่ากว้าง เนื่องเพราะถูกผสมโดยควบคุมลักษณะให้มีรูปร่างคล้ายแมวป่า เพรียว ยาว เห็นมัดกล้ามเนื้อแบบนักล่าชัดเจน โฑดยที่มักจะมีความสูงส่วนสะโพกสูงกว่าความสูงของช่วงไหล่ หาวส่วนมากจะมีปลายชี้ลง ใบหูกลม สั้น ตารูปไข่ (oval) ช่วงโคนหนวดเด่น ช่วงปากและรอบจมูกกลมกว่าแมวบ้าน จุดที่เด่นที่สุดของแมวเบงกอลได้แก่ลายแลีสีขนที่อาจเป็นจุดแบบแมวป่า หรือลายหินอ่อน
หากเริ่มสนใจจะหาเจ้าเหมียวพันธุ์เบงกอลมานอนกอดสักตัวแล้วล่ะก็ ต้องเลือกซื้อแมวเบงกอลที่มีสายตา ต้อง มีโครงสร้างใหญ่ ลำตัวยาว มีลวดลายบนตัวที่เด่นชัดขนาดเท่าหัวแม่มือ จุดด้านข้างลำตัวมีขนาดใหญ่และเรียงตัวอย่างไม่เป็นระเบียบในแนวนอน แมวเบงกอลบางตัวจะมีลวดลายโรเซ็ทที่เป็นจุดขนาดใหญ่ที่มีสีอ่อนกว่าตรงกลาง จุด คล้ายๆ กับลายของเสือจากัวร์ ซึ่งเป็นที่ต้องการมากกว่าแมวที่มีจุดสีเดียวตามปกติ …
ลายทางที่หน้าผากควรมีสีเข้ามลากยาวในแนวนอนจากหางตาไปถึงใบหู และควรมีเส้นสีเข้มเป็นสร้อยคอยาวรอบๆ คอเฉียบคม ขนเงานุ่ม ใบหน้าของลูกแมวนั้นต้องมีลักษณะที่แสดงถึงความเป็นแมวป่า มีขอบตาดำสนิท เส้นที่ใบหน้าเข้ม ริมฝีปากใหญ่เต็ม มีหางที่หนา มีจุดที่ขาหรือเป็นวงที่ไม่เต็มวงรอบๆขา มีสีอ่อนบริเวณรอบปาก คอ และขาด้านใน ดวงตานั้นสามารถจะเป็นสีเขียว สีทอง หรือสีเหลือง
อาหารและการเลี้ยงดู
ปัจจุบันแมวเบงกอลเริ่มเป็นที่รู้จักในไทยมากขึ้น แต่อาจยังแพร่หลายเช่นแมวชนิดอื่นๆ เนื่องจากยังมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น เมื่อตัดสินใจซื้อมาแล้ว ควรใส่ใจดูแลอย่างดี ซึ่งวิธีการเลี้ยงก็ใกล้เคียงกับแมวทั่วๆ ไป เพราะถือป็นแมวบ้านเช่นเดียวกับแมวสายพันธุ์อื่น
แต่ถ้าหากอยากให้แมวสวย สุขภาพดี และมีขนที่สวยงาม การเลือกอาหารที่ดีให้กับแมวนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ อาหารสำเร็จรูปที่ดีจะช่วยให้คุณมั่นใจว่าขนและสุขภาพของแมวนั้นจะสวยที่สุด ส่วนเรื่องของการตัดเล็บ อาบน้ำ แปรงขน เช็ดหู และทำความสะอาดส่วนต่างๆนั้น จะเหมือนกับแมวทั่วๆ ไป
เรื่องอาหาร แมวเบงกอลอาจจะต้องการเนื้อสัตว์ในปริมาณที่มากกว่าแมวทั่วไปเล็กน้อย โดยผู้เลี้ยงอาจจะให้เนื้อวัวสดวันละครั้งเพิ่มเติมจากอาหารที่กินอยู่เป็นประจำ ซึ่งจะไม่ทำให้ท้องเสียหรือเสียสุขภาพ เนื้อสดที่ให้ควรระมัดระวังความสะอาดด้วยการแช่แข็งเอาไว้เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย และควรเก็บเนื้อที่เหลือทิ้งทันที อย่างไรก็ตาม ห้ามให้เนื้อไก่หรือเนื้อหมูสดเด็ดขาด